ถ้าเอาเด็กเป็นตัวตั้ง เราจะมองวิธีแก้ปัญหาก่อนการลงโทษ” หมดสมัย ‘ตาต่อตา ฟันต่อฟัน’ มองการแก้ปัญหาอาชญากรรมในเด็กด้วยกระบวนการยุติธรรมเชิงฟื้นฟูเยียวยา กับ อุกฤษฏ์ ศรพรหม

คนไทยผวา! ซ้ำ วัยรุ่น 14 ปี กราดยิงกลางห้างพารากอน [1]เปิดแชต 5 โจ๋ทรชน สารภาพกับรุ่นพี่ฆ่าป้าบัวผัน บอกชัดเด็ก 14 ลูกตำรวจเป็นคนเริ่ม [2] ไม่ใช่แค่เฉพาะกรณีที่เป็นข่าวข้างต้นเท่านั้น แต่ยังมีเด็กอีกจำนวนมากที่กระทำความผิดแต่ไม่ได้อยู่ในหน้าสื่อ ปี 2561-2565 มีเด็กและเยาวชนช่วงอายุ 12-18 ปี กระทำความผิด 134,747 คดี โดยมากกว่า 60% ของเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมเป็นเด็กยากจน ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ และถูกปฏิเสธจากชั้นเรียนในระบบโรงเรียน ส่วนใหญ่ออกกลางคันในช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น [3] อีกทั้ง อัตราการกระทำผิดซ้ำภายใน 3 ปีของเด็กและเยาวชนยังคงสูงถึงราว 40% [4] ข้อมูลข้างต้นสะท้อนว่า สภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก ทั้งครอบครัว โรงเรียน และสังคม คือปัจจัยสำคัญที่ส่งอิทธิพลให้เด็กและเยาวชนกลุ่มหนึ่งตัดสินใจพลาดจนต้องตกอยู่ในสถานะอาชญากรและไม่สามารถก้าวพ้นออกจากวังวนเดิมจนต้องกระทำผิดซ้ำ นำมาสู่คำถามว่ากระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่มุ่งเน้นการลงโทษด้วยกฎหมายคือทางออกที่เพียงพอต่อปัญหาอาชญากรรมในเด็กและเยาวชนแล้วหรือไม่ ? ชวนหาคำตอบผ่านการมอง ‘กระบวนการยุติธรรมเชิงฟื้นฟูเยียวยา’ (Restorative Justice) ในฐานะเครื่องมือที่หลายประเทศหยิบมาปรับใช้ร่วมกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเด็กและเยาวชน กับ อุกฤษฏ์ ศรพรหม ผู้จัดการโครงการอาวุโสและนักวิจัยด้านกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) กระบวนการยุติธรรมเชิงฟื้นฟูเยียวยาคืออะไร […]