การสร้างความเข้าใจ” วัฒนธรรมใหม่สู่การลดความรุนแรงในโรงเรียน

โรงเรียนถือเป็นสถานที่สำคัญในการสร้างพื้นที่เพื่อพัฒนาทักษะของเด็กและเยาวชนในหลาย ๆ ด้าน เช่น ความรู้ การเรียนรู้ การเข้าใจตนเองและผู้อื่น ความเป็นผู้นำ และอื่น ๆ อาจกล่าวได้ว่า ในสายตาของคนทั่วไปอาจคิดว่าโรงเรียนเป็นพื้นที่ที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อเด็ก เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับพวกเขา ทว่าเหตุการณ์ความรุนแรงทั้งทางตรงและทางอ้อม อาจเกิดขึ้นภายใต้พื้นที่แห่งนี้ได้ง่ายกว่าที่คิด         ความรุนแรงในโรงเรียนสามารถเริ่มต้นจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไปจนถึงพฤติกรรมที่รุนแรงและเข้าข่ายการผิดกฎหมาย เช่น การล้อเลียน การข่มขู่ การทำร้ายร่างกาย และการละเมิดสิทธิของผู้อื่น เป็นต้น ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนอาจมีผลกระทบที่ลึกลงต่อนักเรียนที่เป็นเหยื่อ ไม่เพียงแต่ต่อร่างกายและจิตใจของพวกเขาเอง เเต่ยังส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการเรียนรู้ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นสุขสำหรับคนอื่น ๆ ในพื้นที่การเรียนรู้นั้นเอง         การแก้ไขและป้องกันความรุนแรงในโรงเรียนเป็นหน้าที่ร่วมกันของทุกคนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และสังคม การสร้างการเรียนรู้ที่เน้นความเข้าใจต่อตนเองและผู้อื่น การส่งเสริมทักษะด้านอารมณ์และการจัดการความขัดแย้ง อาจเป็นวิธีการสำคัญที่ช่วยลดปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนได้  LSEd Let’s Talk จึงชวนมาพูดคุยกับ อ.กานน คุมพ์ประพันธ์ (อ.กก) อาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงเบื้องลึกเบื้องหลังการธำรงอยู่ของการใช้ความรุนแรงเหล่านี้ และร่วมหาทางออกหรือวิธีการอื่นที่แก้ปัญหาได้โดยไม่ใช้ความขัดแย้ง เราจะพบว่า […]

ถ้าเอาเด็กเป็นตัวตั้ง เราจะมองวิธีแก้ปัญหาก่อนการลงโทษ” หมดสมัย ‘ตาต่อตา ฟันต่อฟัน’ มองการแก้ปัญหาอาชญากรรมในเด็กด้วยกระบวนการยุติธรรมเชิงฟื้นฟูเยียวยา กับ อุกฤษฏ์ ศรพรหม

คนไทยผวา! ซ้ำ วัยรุ่น 14 ปี กราดยิงกลางห้างพารากอน [1]เปิดแชต 5 โจ๋ทรชน สารภาพกับรุ่นพี่ฆ่าป้าบัวผัน บอกชัดเด็ก 14 ลูกตำรวจเป็นคนเริ่ม [2] ไม่ใช่แค่เฉพาะกรณีที่เป็นข่าวข้างต้นเท่านั้น แต่ยังมีเด็กอีกจำนวนมากที่กระทำความผิดแต่ไม่ได้อยู่ในหน้าสื่อ ปี 2561-2565 มีเด็กและเยาวชนช่วงอายุ 12-18 ปี กระทำความผิด 134,747 คดี โดยมากกว่า 60% ของเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรมเป็นเด็กยากจน ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ และถูกปฏิเสธจากชั้นเรียนในระบบโรงเรียน ส่วนใหญ่ออกกลางคันในช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น [3] อีกทั้ง อัตราการกระทำผิดซ้ำภายใน 3 ปีของเด็กและเยาวชนยังคงสูงถึงราว 40% [4] ข้อมูลข้างต้นสะท้อนว่า สภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก ทั้งครอบครัว โรงเรียน และสังคม คือปัจจัยสำคัญที่ส่งอิทธิพลให้เด็กและเยาวชนกลุ่มหนึ่งตัดสินใจพลาดจนต้องตกอยู่ในสถานะอาชญากรและไม่สามารถก้าวพ้นออกจากวังวนเดิมจนต้องกระทำผิดซ้ำ นำมาสู่คำถามว่ากระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่มุ่งเน้นการลงโทษด้วยกฎหมายคือทางออกที่เพียงพอต่อปัญหาอาชญากรรมในเด็กและเยาวชนแล้วหรือไม่ ? ชวนหาคำตอบผ่านการมอง ‘กระบวนการยุติธรรมเชิงฟื้นฟูเยียวยา’ (Restorative Justice) ในฐานะเครื่องมือที่หลายประเทศหยิบมาปรับใช้ร่วมกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในเด็กและเยาวชน กับ อุกฤษฏ์ ศรพรหม ผู้จัดการโครงการอาวุโสและนักวิจัยด้านกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) กระบวนการยุติธรรมเชิงฟื้นฟูเยียวยาคืออะไร […]

การนำเสนอ ทดสอบและรับฟังข้อคิดเห็นของกิจกรรมต้นแบบการพัฒนาระบบการดำเนินกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในประเทศไทย

โดยคณะผู้แทนสถาบันฯ และหัวหน้าโครงการจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ลงพื้นที่ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 สำหรับอบรมเพื่อนำเสนอ ทดสอบ ระบบในการดำเนินงานของระบบปฏิบัติการฯ ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานจริง ทำให้ทราบถึงข้อเสนอแนะและข้อควรระวังในการเก็บข้อมูล ตลอดจนการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ในระบบยุติธรรมชุมชนจากมุมมองของผู้ปฏิบัติในหลายภาคส่วน ผู้ปฏิบัติงานหลายท่านเห็นพ้องว่าเว็บไซต์ดังกล่าวนี้ สามารถเป็นหนึ่งในทางเลือกที่อำนวยความสะดวกสบายในการจัดเก็บข้อมูลขณะลงพื้นที่ปฏิบัติการ เนื่องจากเว็บไซต์สามารถเข้าระบบผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลากหลายรูปแบบและบันทึกข้อมูลได้หลากหลาย เช่น การเก็บข้อมูลรูปภาพและเสียง หน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการนั้นสามารถเข้าถึงฐานข้อมูล (Data Base) ได้ตลอดเวลา รวมถึงการเรียกดูข้อมูลย้อนหลังหรือการกู้คืนข้อมูลในอนาคต นอกจากนี้ การวิเคราะห์ผลหรือปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินกระบวนการได้จะช่วยทำให้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มีกรอบในการดำเนินงานที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นและสามารถถ่ายทอดหน้าที่หรือส่งต่อข้อมูลให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง ยิ่งไปกว่านั้น การพัฒนาระบบช่วยเหลือ (Support System) ของเว็บไซต์ที่สามารถเชื่อมโยงกับแอพพลิเคชั่นไลน์  (LINE) จะช่วยให้การสอบถามหรือการแจ้งเหตุที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วจากผู้ใช้งานหรือผู้ไม่ประสงค์ออกนามได้ ซึ่งผู้ใช้งานทั้งในระดับนโยบายและในระดับปฏิบัติการเองมีความคุ้นเคยในการใช้แอพพลิเคชันดังกล่าว จึงส่งผลกระทบในเชิงบวกและสร้างความพึงพอใจในการใช้งานระบบ สร้างความเชื่อมั่นในการเพิ่มเติมข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลได้ ผู้เข้าร่วมทดสอบจึงเล็งเห็นว่าระบบปฏิบัติการฯ นี้ จะเป็นอีกทางหนึ่งในการเพิ่มศักยภาพและพัฒนาการดำเนินกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์หรือกระบวนการยุติธรรมภายในชุมชนได้เป็นอย่างดี

เติมความเป็นมนุษย์ให้กระบวนการยุติธรรม ด้วย ‘กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์’ กับ อุกฤษฏ์ ศรพรหม

  นับเป็นเวลา 20 ปีแล้ว ที่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC) รับรองเอกสาร ‘หลักการพื้นฐานแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา’ (Basic principles on the use of restorative justice programmes in criminal matters) นี่คือหมุดหมายสำคัญที่เปิดช่องให้ทั่วโลกนำ ‘กระบวนการยุติธรรมเชิงสมาฉันท์’ มาพัฒนาและปรับใช้ร่วมกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพื่อให้ความยุติธรรมได้รับการอำนวยต่อผู้ร้องขออย่างมีประสิทธิภาพ อุด ‘ช่องว่าง’ ที่กระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลักไม่สามารถเติมเต็มได้ ‘ให้ความสำคัญกับผู้เสียหายในกระบวนการ’ ‘เยียวยาผู้เสียหาย’ ‘สร้างสำนึก’ ‘สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้อง’ คือแนวทางที่กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์พยายามทลายกำแพงระหว่างผู้เสียหายและผู้กระทำผิด สร้างสำนึกผิดเพื่อลดการกระทำผิดซ้ำหลังพ้นโทษ และสมานบาดแผลจากความขัดแย้ง ความเสียหายหรือความสูญเสียที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ดังที่ อุกฤษฏ์ ศรพรหม กล่าวไว้ว่า “กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์คือการที่เราใส่ความเป็นมนุษย์ลงไปในกระบวนการยุติธรรมให้มากขึ้น ไม่ได้มองว่ากระบวนการยุติธรรมเป็นแค่กระบวนการ แต่คือสิ่งที่มนุษย์หลายคนร่วมกันหาทางออกร่วม เพราะฉะนั้น มันเยียวยาทั้งร่างกายและจิตใจของผู้เสียหายได้จริงๆ ในขณะที่ฝ่ายผู้กระทำความผิดก็ได้รับรู้ผลกระทบที่ตามจากการกระทำของตนเองและมีโอกาสได้พัฒนาวิธีคิดการสร้างสำนึกได้มากขึ้น” ไทยคือหนึ่งในประเทศที่รับรองข้อมติแห่งสหประชาชาติว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมาฉันท์มาตั้งแต่ต้น และมีการพัฒนากระบวนการยุติธรรมเพื่อให้โอบรับหลักความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาเป็นลำดับในตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในกรณีคดีเยาวชน อย่างไรก็ตาม ความท้าทายต่อไปอยู่ที่การปรับโครงสร้างกฎหมาย เพื่อให้กรอบนโยบาย งบประมาณ และเจ้าหน้าที่มีความพร้อมต่อการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมาฉันท์อย่างเต็มรูปแบบ […]